สุมาลี ใจกว้าง

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ศิลปะในสังคมไทย

      ภาพไทยและสากล

         คือศิลปะที่สะท้อนความเป็นอยู่ ได้แก่ ความเชื่อ ความคิด ประเพณี การดำเนินชีวิตของคนในแต่ละชนชาติ สังคม ชุมชนศิลปะมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นทัศน์ศิลป์ สถาปัตยกรรม ดนตรี ศิลปะการแสดง นาฎศิลป์ วรรณกรรม ความแตกต่างหลากหลายเป็นลักษณะเด่นของแต่ละชนชาติ  แต่ละสังคม แต่ละชุมชน นอกจากนั้น ศิลปะแต่ละชาติ สังคม ชุมชน ยังมีความแตกต่างและแสดงลักษณะเฉพาะตัวของผู้สร้างสรรค์แต่ละคนด้วย

ภาพและระนาบ

      ภาพหรือลวดลายที่เกิดจากแผ่นทองคำเปลวบนพื้นรักสีดำ เป็นภาพที่สะท้อนแสง แสดงลักษณะพิเศษของภาพเขียนไทยหรือศิลป์ไทย ภาพลายรดน้ำเช่นนั้นแสดงระนาบระหว่างสีดำและสีทอง  ภาพหรือลวดลายมีมีลักษณะแบนลาบ นอกจากภาพลายรดน้ำแล้วก็ยังมีภาพลายอื่นๆที่งดงาม
                                                                  ตัวอย่างภาพ

ภาพพลังธรรมชาติ



           ศิลปะในชุมชน

เมื่อพิจารณาจากตัวเอง  เรามีชีวิตอยู่ในครอบครัว ที่มีทั้ง พ่อ แม่ พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย ฯลฯ
ศิลปะในชุมชนคือภูมิปัญญาอย่างหนึ่ง








ทั้งหมดคือภาพศิลปะพื้นบ้าน

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554









วัดพระธาตุขุนห้วยสวด

ลำดับเจ้าอาวาส
๑. ครูบาคำหล้า สังวโร
๒. หลวงพ่อดี สันติวโร
๓. หลวงพ่อมี ธีรปัญโญ (รักษาการแทนเจ้าอาวาส ปัจจุบัน)
ในช่วงวันออกพรรษาของทุกๆปีจะมีประเพณีตักบาตรเทโวโรหนะ เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรม
ประเพณีที่ดีงามให้คงอยู่สืบไป

พระธาตุขุนห้วยสวด
ประตูทางเข้าวัด
อนุสรณ์สถานครูบาคำหล้า สังวโร หอระฆัง
พระอุโบสถ พระประธานในวัด
ที่เก็บพระธาตุครูบาคำหล้า สังวโร ภาพพระธาตุ
คร บู าคำหล้า สังวโร
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
ครูบาคำหล้า สํวโร เกิดเมื่อวันพุธที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๐ ที่บ้านเลขที่ ๑๖ หมูที่ ๑๔ ตำบลรอบเวียง
อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรคนสุดท้องของนายใจ และนางน้อย สุภายศ เรียนชั้นประถมศึกษาที่ ๑ เมื่อ
อายุได้ ๘ ปี ที่โรงเรียนจำรูญราษฎร์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย พออายุ ๙ ปี ได้ล้มป่วยกระเสาะกระแสะ พ่อแม่
จึงนำไปถวายตัวเป็นลูกศิษย์ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย ซึ่งขณะนั้นท่านพำนัก ณ วัดเชียงยืน(วัดสันโค้งหลวง) อำเภอ
เมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อบูรณะพระบรมธาตุดอยตุง
ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
ครูบาศรีวิชัย ได้ทำการบรรพชาให้ครูบาคำหล้า ณ วัดเชียงยืน ประมาณ พ.ศ.๒๔๗๐ หลังจากบูรณะพระ
ธาตุดอยตุงเสร็จแล้ว ครูบาศรีวิชัยก็ธุดงค์กลับลำพูน ครูบาคำหล้าได้พำนักที่วัดเชียงยืน หลังจากนั้นครูบาคำหล้าก็
ได้เรียนหนังสือจนจบชั้นประถม ๔ จึงเข้าศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จบชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ ๒ จึงลาออกจากการเป็นนักเรียน ด้านปริยัติธรรมท่านสอบได้นักธรรมชั้นตรี ที่วัดเจ็ดยอด อำเภอ
เมือง จังหวัดเชียงราย นอกจากนี้ท่านยังได้ศึกษาอักษรพื้นเมืองกับพระครูปัญญา ที่วัดฮ่างต่ำอำเภอเวียงป่าเป้า
จังหวัดเชียงราย เป็นเวลา ๓ ปี (ระหว่างปีพ.ศ.๒๔๗๗
ครูบาคำหล้า สํวโร อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ณ พัทธสีมาวัดมุงเมือง อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงราย โดยมีพระครูพุทธิสารเวที (แฮด เทววังโส) เจ้าคณะจังหวัดในขณะนั้นเป็นพระอุปัชฌาย์ โดย
ได้รับฉายาว่า
มื้อเดียวเป็นวัตร ชอบธุดงค์ และสร้างถาวรวัตถุทั้งศาสนสถาน และสาธารณสถาน ครูบาคำหล้า สํวโร เคยธุดงค์
ข้ามไปในเขตเมืองเชียงตุง เมืองพะยาก เมืองเชียงรุ่ง เมืองเลน และเคยจำพรรษาที่เมืองผง(เมืองพง) สหภาพพม่า
เป็นเวลา ๓ ปีท่านได้สร้างถาวรวัตถุมากมายในเขตจังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยาและจังหวัดน่าน รวมแล้วไม่ต่ำ
กว่า ๒๐ แห่ง ใน พ.ศ.๒๔๙๖ ท่านได้รับนิมนต์จากพระพิมลธรรม
วิปัสสนากรรมฐาน ณ วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ เป็นเวลา ๓ เดือน
ศาสนสถานที่ครูบาคำหล้า สํวโร สร้างนั้น ผู้ออกแบบและร่วมสร้าง ได้แก่ครูบาอินถา สุทนฺโต ซึ่งเป็น
สหธรรมมิกของครูบาคำหล้า ศาสนสถานที่สำคัฐที่ครูบาคำหล้าได้บูรณะซ่อมแซม ได้แก่วัดพระธาตุดอยจอม
สักสังวราราม ตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย พระธาตุดอยเขาควาย ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัด
เชียงราย วิหารพระเจ้านั่งดิน ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา พระธาตุและวิหารวัดขิงแกง ตำบลจุน อำเภอ
จุน จังหวัดพะเยา เจดีย์วัดนาหนุน ตำบลแสนทอง อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ฯลฯ สาธารณสมบัติที่สำคัญที่ครูบา
คำหล้า สํวโร สร้าง คือสะพานข้ามแม่น้ำพุง ตำบลป่าแงะ อำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย เป็นต้น
ในช่วงท้ายของชีวิตครูบาคำหล้า สํวโร ท่านได้เลิกสร้างศาสนสถานโดยเข้าไปจำพรรษาในสำนักสงฆ์ห้วย
ขุนสวด บ้านแวนโค้ง ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นบริเวณป่าลึกห่างไกลจากการคมนาคม
เพื่อบำเพ็ญเพียร ปลายปี พ.ศ.๒๕๓๒ ครูบาคำหล้า สํวโร ได้ล้มป่วยด้วยโรคลำไส้อักเสบ เข้ารับการรักษาที่
โรงพยาบาลเชียงคำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงรายหลาย
ครั้ง แต่อาการก็ไม่ทุเลาลง ท่านถึงแก่มรณภาพ ณ ตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เมื่อวันที่
๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๓ ศพของครูบาคำหล้า ฌาปนกิจ ณ สำนักสงฆ์ห้วยขุนสวด บ้านแวนโค้ง ตำบลฝายกวาง
อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๕ สิริอายุได้๗๓ ปี พรรษา ๕๓ พรรษา
-๒๔๗๙)ฐิตสํวโรครูบาคำหล้าเป็นพระที่มีปฎิปทาคล้ายกับครูบาศรีวิชัยมาก เช่น การไม่ฉันเนื้อ การถือฉัน(อาสภมหาเถระ) วัดมหาธาตุ ให้ไปศึกษา2505
พระผงดินครูบาคำหล้า
เหรียญรุ่นสอง
ส่วนเหรียญตาย สร้างแจกเป็นที่ระลึกในงานฌาปนกิจ ณ สำนักสงฆ์ห้วยขุนสวด บ้านแวนโค้ง ตำบลฝายกวาง
อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ปี
2535(ท่านครูบาไม่ได้ปลุกเสก)
สำหรับวัตถุมงคลที่ครูบาคำหล้าอนุญาตให้สร้างขึ้นและปลุกเสกนั้นพอจำแนกได้ดังนี้
เหรียญรุ่นแรกปี

วัดพระธาตุขุนห้วยสวด
แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม


ตั้งอยู่ ณ บ้านใหม่เจริญไพร หมู่ที่ ๙ ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ประมาณ
๓๐ ไร่ เดิมเป็นสำนักสงฆ์ สร้างโดยครูบาคำหล้า สังวโร ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับอนุญาตตั้งเป็นวัดพระธาตุ
ขุนห้วยสวดเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๓๗